วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรม 13-17 ธันวาคม 53



ตอบ 4.O x O
อธิบาย    โอ เพราะว่ากรุ๊ปเลือดโอเป็น recessive ค่ะ เมื่อพ่อกับแม่เป็นโอ คือ มีจีโนไทป์เป็น ii

ii X ii = เมื่อ ii คูณ กันยังไงก็ได้ ii อยู่แล้วค่ะ

ตอบ 2. ข และ ค
อธิบาย ศัพท์การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรม
          แอลลีล (Allele) คือยีนที่ประกอบหรือยีนที่อยู่กันเป็นคู่กันเฉพาะลักษณะหนึ่ง ๆ เป็นยีนที่อยู่บนตำแหน่ง
เดียวกันของโครโมโซมที่เป็นคู่กัน เช่น T เป็นแอลลีล กับ t แต่ไม่เป็น แอลลีลกับ หรือ ซึ่งควบคุมลักษณะ
อื่น ลักษณะใดที่ถูกควบคุมด้วยแอลลีลมากกว่า 1 คู่จะเรียกว่า
multiple alleles
           Dominant Allele หมายถึงแอลลีลที่แสดงลักษณะให้เห็นได้ทั้งในสภาพที่เป็น homozygote และ heterozygote
             Recessive Allele หมายถึงแอลลีลที่จะแสดงลักษณะให้ปรากฏได้ก็ต่อเมื่อเป็น homozygote เท่านั้น
            แอนติเจน (antigen) โปรตีนบนผิวเซลล์ที่สามารถทำปฏิกิริยากับแอนติบอดีที่เฉพาะกับชนิดของตัวเอง
อาจเป็นเชื้อโรคก็ได้
            แอนติบอดี (antibody) โมเลกุลโปรตีนที่สร้างขึ้นมาเพื่อตรวจจับและทำลายแอนติเจนที่มากระตุ้น
หรือพลัดหลงเข้ามาในกระแสเลือดหรือภูมิคุ้มกัน
            ออโตโซม (autosome) โครโมโซมภายในนิวเคลียส ยกเว้นโครโมโซมเพศ แต่ละเซลล์ของมนุษย์
มี 46 โครโมโซม เป็น ออโตโซม 44 แท่ง อีก 2 แท่ง คือโครโมโซมเพศ
            เผือก (albino, albinism) สภาวะหรือคนที่ไม่สามารถสร้างสารสีชนิดเมลานินที่ตา ผม ผิวหนัง
ในมนุษย์เกิดจากพันธุกรรมแบบด้อยบนออโตโซม
            เทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology) การใช้เทคนิคที่ได้จากผลงานวิจัยทางชีวภาพมาพัฒนา
ผลผลิตต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิต สุขอนามัยและการเกษตร
            เบส (base) ทางเคมีหมายถึง สารที่ทำปฏิกิริยากับกรดแล้วได้เกลือกับน้ำ แต่ในทางพันธุศาสตร์ี้หมายถึง
สารประกอบไนโตรเจนชนิดพิวรีนหรือไพริมิดีนที่ทำพันธะกันในสายดีเอ็นเอ หรืออาร์เอ็นเอ เบสของดีเอ็นเอ
มี 4 ชนิดได้แก่ อะดีนีน(A) กัวนีน(G) ไซโทซีน(C) และไทมีน(T) เบสของอาร์เอ็นเอมี 4 ชนิด เช่นกัน
ได้แก่ อะดีนีน(
A) กัวนีน(G) ไซโทซีน(C) และยูราซิล(U) คำนี้ยังมีความหมายอื่นในสาขาคณิตศาสตร์ อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ
            พาหะ (Carrier) คือ ผู้ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมปกติ แต่มียีนผิดปกติของลักษณะนั้นแฝงอยู่
            ผสมข้าม (cross, crossing) การผสมพันธุ์ระหว่างเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียที่มาจากต่างต้นหรือ
ต่างดอกกัน การผสมของสัตว์เซลล์สืบพันธุ์ต่างตัวกัน
            การโคลน (cloning) กระบวนการผลิตหรือทำซ้ำเพื่อให้ได้สิ่งมีชีวิตตัวใหม่ หรือต้นใหม่ที่เหมือนต้นแบบเดิม
            เซนโตรเมียร์ (centromere) ส่วนของโครโมโซมที่เส้นใยสปินเดิลเข้าเกาะ และเป็นส่วนที่เชื่อมติดต่อ
ระหว่างซิสเตอร์โครมาติด ในช่วงการแบ่งเซลล์ มีอีกชื่อหนึ่งว่า primary constriction
             โครมาติน (chromatin) ก้อนดีเอ็นเอและโปรตีนที่รวมกันเป็นโครโมโซมภายในนิวเคลียส
             โครมาติด (chromatid) แท่งหนึ่งหรือหน่วยหนึ่งในสองหน่วยของโครโมโซมในระยะแบ่งเซลล์ที่มี
การสังเคราะห์ดีเอ็นเอเพิ่มเป็น 2 เท่า ทำให้ 1 โครโมโซมมี 2 โครมาติด
            ซิสเตอร์โครมาติด (sister chromatids) โครมาติดที่เกิดจากการสังเคราะห์ของโครโมโซมแท่งเดียวกัน
            Chromosome โครโมโซมคือโมเลกุล ดีออกซีไรโบนิวคลีโอโปรตีน อยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ ในระหว่าง
การแบ่งเซลล์จะมองเห็นเป็นแท่งติดสีเข้ม ในเชิงพันธุศาสตร์โครโมโซมมีหน้าที่เก็บข้อมูลทางพันธุกรรมไว้ใน
ลักษณะของการเรียงลำดับนิวคลีโอไทด์บนดีเอนเอ
            โครโมโซม x (x chromosome) โครโมโซมเพศแท่งยาวในสิ่งมีชีวิตที่เพศเมียมีโครโมโซมเพศเหมือนกัน 2 แท่ง (xx)
            วัฎจักรเซลล์ (cell cycle) ระยะต่างๆ ที่พบในการเจริญเติบโตของเซลล์ตั้งแต่อินเตอร์เฟสจนถึงสิ้นสุด
ไมโตซิส
            โคลน (clone) เซลล์ เนื้อเยื่อ หรือสิ่งมีชีวิตที่เกิดมาจากเซลล์เดียว มีความเหมือนกันทุกอย่าง
            ครอสซิงโอเวอร์ (Crossing over) คือ ปรากฏการณ์ที่โครมาติดของโครโมโซมเส้นหนึ่งแลกเปลี่ยน
กับโครมาติดของโครโมโซมอีกเส้นหนึ่ง ซึ่งเป็นโฮโมโลกัสกัน
            เด่น (dominance) ปรากฏการณ์ที่แอลลีลหนึ่งสามารถแสดงฟีโนไทป์ออกมาโดยสามารถข่มหรือบดบัง
การแสดงออกของอีกแอลลีลหนึ่งได้ เมื่อพันธุกรรมหนึ่งนั้นเป็นเฮทเทอโรไซกัสแล้วและมีโอกาสปรากฏในรุ่น
ต่อมาเป็นสัดส่วนมากกว่า เขียนด้วยตัวย่อภาษาอังกฤษตัวใหญ่แทนยีนเด่น เช่น สูง ถนัดมือขวา
            ด้อย (recessive) คำที่ใช้เรียกแอลลีลที่ไม่สามารถแสดงลักษณะออกมาเมื่ออยู่ในจีโนไทป์ที่เป็น
เฮทเทอโรไซกัสกับอีกแอลลีลหนึ่ง
            ลักษณะเด่นสมบูรณ์ (Complete dominance) หมายถึงลักษณะที่แสดงออก (phenotype) ที่ gene
เด่นสามารถข่ม
gene ด้อยได้อย่างสมบูรณ์
            ข่มไม่สมบูรณ์ (incomplete dominance) การแสดงออกของพันธุกรรมที่แอลลีลหนึ่งไม่สามารถข่ม
อีกแอลลีลหนึ่งได้
            ลักษณะเด่นร่วม (Co-dominant) หมายถึง ลักษณะทางกรรมพันธุ์ที่ gene แต่ละยีนที่เป็นแอลลีล (allele) กันมีลักษณะเด่นทั้งคู่ข่มกันไม่ลง จึงแสดงออกมาทั้ง 2 ลักษณะ เช่น กรรมพันธุ์ของหมู่เลือด AB
            ดับเบิลเฮลิกซ์ (double helix) รูปแบบการพันเกลียวแบบคู่ขนานกลับหัวท้ายของสายดีเอ็นเอ
 ที่ค้นพบโดยวัทสันและคริก
            ดิพลอยด์ (diploid) สภาวะของสิ่งมีชีวิตที่แต่ละเซลล์ประกอบด้วยโครโมโซมที่เป็นคู่กัน 2 แท่ง (2 n)
            แฮพลอยด์ (haploid) เซลล์หรือสิ่งมีชีวิตที่มีจำนวนโครโมโซมครึ่งหนึ่งของปกติ
            ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (DNA fingerprint) โครโมโซมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะแต่ละแห่งของแต่ละคน
  ซึ่งสามารถนำมาวินิจฉัยความเป็นเจ้าของหรือคดีความต่างๆ ได้
            วิวัฒนาการ (evolution) กำเนิดของพืชและสัตว์จากบรรพบุรุษที่มีลักษณะโบราณกว่า
            เอนไซม์ (enzyme) โปรตีนที่ทำหน้าที่ควบคุมปฏิกิริยาทางชีวเคมีในเซลล์
            ลูก F1 (first filial generation) ลูกรุ่นที่ 1 ลูกที่เกิดจากการแต่งงานหรือผสมข้ามพันธุ์รุ่นแรกหรือ
 ลูกผสม (hybrid) ลูกที่เกิดจากการผสมข้ามระหว่างพ่อแม่ที่มีจีโนไทป์ต่างกัน
            ลูก F2 (second filial generation) ลูกรุ่นที่ 2 ลูกที่เกิดจากการผสมภายในลูกรุ่นที่ 1 (ลูก F1)
 หรือรุ่นหลาน
            จีโนไทป์ (Genotype) หมายถึง แบบของยีนที่อยู่เป็นคู่ ๆ ซึ่งสิ่งมีชีวิตได้รับมาจากพ่อและแม่ มีหน้าที่
 ควบคุมลักษณะของสิ่งมีชีวิตในร่างกาย การเขียนจีโนไทป์ เขียนได้หลายแบบ เช่น TT , Tt , tt , T/T , T/t , t/t
            ฟีโนไทป์ (phenotype) หมายถึง ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏให้เห็น เช่น ลำต้นสูงกับเตี้ย

            ยีน (gene) เป็นหน่วยพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตและถ่ายทอด
  จากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง เช่น ยีน T, ยีน t , ยีน R , ยีน r
            Polygene หรือ Multiple gene หมายถึง ลักษณะทางกรรมพันธุ์ ที่มียีน (gene) หลายคู่
 (มากกว่า
2 alleles) ที่ทำหน้าที่ร่วมกันเพื่อควบคุม phenotype อย่างเดียวกันจึงทำให้เกิดลักษณะที่มี
 ความแปรผันกันแบบต่อเนื่องคือลดหลั่นกันตามปริมาณของยีน เช่น ลักษณะความสูงเตี้ยของคน
 จะมีตั้งแต่สูงมาก
สูงปานกลาง เตี้ย
            ลิงค์ยีน (linked gene) คือ ยีนที่อยู่บนโครโมโซมเดียวกัน
            ยีนที่เกี่ยวเนื่องกับเพศ (Sex-linked gene หรือ x - linked gene) เป็นพันธุกรรมที่ถูกควบคุมโดยยีน
 ที่อยู่บนโครโมโซม
X แต่ไม่อยู่บนโครโมโซม เช่น ยีนที่แสดงสีตาของแมลงหวี่, โรคโลหิตไหลไม่หยุด
            จีโนม (genome) ลำดับ จำนวน และชนิดของยีนที่มีในสิ่งมีชีวิตแต่ละตัว
            จีเอ็มโอ (GMOs) สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปลงหรือเปลี่ยนแอลลีลพันธุกรรมบางตัว เพื่อนำมาใช้ประโยชน์
            พันธุวิศวกรรม (genetic engineering) เทคนิคการเปลี่ยนหรือดัดแปลงยีน กลุ่มยีน หรือ
  หน่วยพันธุกรรมในเซลล์สิ่งมีชีวิต โดยการคัดเลือก คัดออก แทรกใส่ หรือตกแต่งดัดแปลงเพื่อให้นำมาใช้
  ประโยชน์
            แกมมีต (gamete) เซลล์สืบพันธุ์ที่มีจำนวนโครโมโซมเป็นครึ่งหนึ่งของเซลล์ปกติ มนุษย์มีเซลล์สืบพันธุ์
  สองเพศคือเพศผู้คือ sperm และเพศเมียคือ egg
            รหัสพันธุกรรม (genetic code) กลุ่มรหัสที่มีลำดับเบส 4 ตัวในดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอแต่ละรหัส
  (โคดอน) ประกอบด้วยลำดับเบส 3 ตัวซึ่งจะทำหน้าที่ดึงกรดอะมิโนเฉพาะชนิดเข้ามาต่อกันในการสร้างโปรตีน
            พันธุกรรมหรือกรรมพันธุ์ (Heredity) หมายถึง การถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต
  จากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง หรือจากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน
            ฮีโมฟีเลีย (hemophilia) คือ โรคพันธุกรรม ซึ่งควบคุมโดยยีนเกี่ยวกับเพศ อาการของ โรคนี้ คือ
  เลือดจะแข็งตัวช้า
            ลูกผสม (hybrid) ลูกที่เกิดจากการผสมข้ามระหว่างพ่อแม่ที่มีจีโนไทป์ต่างกัน
            homozygouse เป็นสภาพของสิ่งมีชีวิตที่มียีน 2 ยีนเหมือนกัน ควบคุมลักษณะหนึ่ง เช่น
  TT = homozygouse  dominant gene (เด่นพันธุ์แท้)   tt  = homozygouse  recessive gene (ด้อยพันธุ์แท้)
            heterozygouse เป็นสภาพของสิ่งมีชีวิตที่มียีน 2 ยีนแตกต่างกันและควบคุมลักษณะหนึ่ง
  เช่น  Tt  = heterozygouse  gene (พันธุ์ทาง = hybrid) 
            โลคัส (locus) ตำแหน่งที่อยู่ของยีนบนโครโมโซม
            Monohybrid cross หมายถึง การผสมพันธุ์โดยพิจารณาเพียงลักษณะเดียว แต่ถ้าเป็นการผสมพันธุ์
  โดยศึกษาหรือพิจารณาทั้ง
2 ลักษณะควบคู่กัน เรียกว่า Dihybrid crosses
            ออร์แกเนลล์ (organelle) โครงสร้างขนาดเล็กในเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะด้าน ตัวอย่าง ไมโตคอนเดรีย
            อาร์เอ็นเอ (RNA) กรดไรโบนิวคลิอิก สายพอลินิวคลิโอไทด์แตกต่างจากดีเอ็นเอตรงที่เป็นสายเดี่ยว
  ของน้ำตาลไรโบสและเบสไพริมิดีนเป็นชนิดยูราซิลแทนที่ไทมีน แบ่งเป็นไรโบโซมมัล อาร์เอ็นเอ (RNA)
  เมสเซนเจอร์ อาร์เอ็นเอ (
m RNA) ทรานส์เฟอร์ อาร์เอ็นเอ (t RNA) และนิวเคลียร์อาร์เอ็นเอ
            เซลล์ร่างกาย (somatic cell) เซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่มิได้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์
            ผสมตัวเอง (selfing) การผสมของเซลล์สืบพันธุ์ภายในต้นพืชต้นเดียวกัน การผสมหรือปฏิสนธิ
  ที่เกิดได้เอง
            พงศาวลี,เพดดีกรี (pedegree) แผนภาพแสดงลำดับ ความสัมพันธ์ของบุคคลในตระกูลเดียวกัน
  เพื่อดูการถ่ายทอดพันธุกรรมหรือโรคพันธุกรรมบางชนิด
            พันธุ์แท้ (pure line = bred true) สิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการผสมภายในประชากรเดียวกันมาเป็นเวลานาน
  จนมีจีโนไทป์เป็นโฮโมไซกัสกัน หรือสิ่งมีชีวิตที่มีพันธุกรรมแบบเดียวกันในประชากร
            Locus หมายถึงตำแหน่งของยีนบนโครโมโซม
            มิวเตชัน (mutation) คือ การเปลี่ยนแปลงของยีนที่ผิดไปจากเดิม ซึ่งลักษณะนี้ สามารถถ่ายทอด
  สืบต่อไปยังรุ่นลูกและรุ่นต่อ ๆ ไป
            ไมโตซิส (mitosis) การแบ่งเซลล์ที่ทำให้ได้เซลล์ลูก 2 เซลล์ที่มีจำนวนโครโมโซมเท่าเดิม แบ่งเป็น
  ระยะย่อย 4 ระยะคือ โพรเฟส เมตตาเฟส แอนนาเฟส และเทลโลเฟส ตามด้วยไซโตไคเนซิส
            ไมโอซิส (meiosis) การแบ่งเซลล์แบบที่มีการลดจำนวนโครโมโซมลงครึ่งหนึ่ง พบในกระบวนการ
  สร้างเซลล์สืบพันธุ์ของเพศผู้และเพศเมียในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง หลังจากแบ่งเสร็จแล้วจะได้เซลล์สืบพันธุ์ 4 เซลล์ 
  เพศเมียจะมีเพียงเซลล์เดียวที่พัฒนาไปเป็นไข่ อีก 3 เซลล์จะฝ่อไป
            นิวเคลียส (nucleus) 1. ทางเคมีหมายถึงแกนกลางของอะตอมที่ประกอบด้วยโปรตรอนและนิวตรอน
  2. ทางชีววิทยาหมายถึง ใจกลางของเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสล้อมรอบภายใน เป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรม
            สปีชีส์ (species) ประชากรภายใต้กลุ่มเดียวกันที่สามารถผสมพันธุ์กัน และมีลูกสืบทอดสายพันธุ์ได้
  โดยไม่เป็นหมัน
            เส้นใยสปินเดิล (spindle fiber) เส้นใยไฟเบอร์ที่สร้างจากการเรียงต่อกันของไมโครทิวบูล
  พบในช่วงการแบ่งเซลล์ ทำหน้าที่ดึงโครมาติดให้แยกจากกัน ไปเป็นโครโมโซมอิสระในเซลล์ลูก
            ไตรโซมี (trisomy) สภาวะของเซลล์หรือสิ่งมีชีวิตที่มีจำนวนโครโมโซมเกินมา 1 แท่ง
  ทำให้โครโมโซมที่เกินมานั้นมี 3 แท่ง
            กรดนิวคลีอิก (Nucleic acid) มี 2 ชนิด คือ
  1. DNA – ทำหน้าที่เป็นสารพันธุกรรม  2. RNA - ทำหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน
  ส่วนประกอบของ DNA กลุ่มฟอสเฟต น้ำตาลดีออกซีไรโบส เบสไซโตซีน เบสอะดีนีน เบสกวานีน เบสไทมีน
            ไซโกต (zygote) เซลล์ที่เกิดจากการปฏิสนธิระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียเพื่อไปเป็นชีวิตใหม่

           พืชดัดแปลงพันธุกรรม คือพืชที่ผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม เพื่อให้มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะที่จำเพาะเจาะจงตามต้องการ เช่น มีความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช คงทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือมีการเพิ่มขึ้นของสารโภชนาการหรือชีวโมเลกุลบางชนิด เช่น วิตามิน โปรตีนไขมัน เป็นต้น พืชดัดแปลงพันธุกรรมถือเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมหรือจี เอ็ม โอ (GMOs – Genetically Modified Organisms) ประเภทหนึ่ง
พืชดัดแปลงพันธุกรรมกับความปลอดภัย
การ พิจารณาว่าจี เอ็ม โอ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และ/หรือ สิ่งแวดล้อมนั้นจะต้องผ่านการทดลองหลายด้านเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลทางวิทยา ศาสตร์ที่เชื่อถือได้ เนื่องจากสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและมีบทบาท ในสิ่งแวดล้อมต่างๆกันไป และก่อนที่ผู้ผลิตรายใดจะนำเอาจี เอ็ม โอ หรือผลผลิตจากจี เอ็ม โอแต่ละชนิดออกสู่ผู้บริโภคนั้น จะต้องได้รับการประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ต้องอาศัยผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาวิชาเพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ นั้นๆมีความปลอดภัยเทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์ในลักษณะเดียวกันที่มีอยู่แล้วในธร รรมชาติ ดังนั้นจึงถือได้ว่าผลิตพันฑ์จี เอ็ม โอ ทุกชนิด ทั้งที่นำมาเป็นอาหาร หรือที่นำมาปลูกเพื่อจำหน่ายในทางพาณิชย์มีความปลอดภัยแล้ว บางคนคิดว่าจีเอ็มโอคือสารปนเปื้อนที่มีอันตราย ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ไม่ใช่อย่างแน่นอน เพราะจี เอ็ม โอ ไม่ใช่สารปนเปื้อนและไม่ใช่สารเคมี แต่จี เอ็ม โอนั้นคือ “สิ่งไม่มีชีวิต” ที่เป็นผลพวงจากการใช้เทคนิคทางเทคโนโลยีชีวภาพสมัย ใหม่ ซึ่งเกิดจากความตั้งใจของนักวิทยาศาสตร์ที่จะปรับปรุงพันธุ์ให้มีคุณสมบัติ ตามอย่างที่ต้องการ ยกตัวอย่างเช่น การดัดแปรพันธุกรรมของมะเขือเทศให้มีลักษณะการสุกงอมที่ช้าลงกว่าปรกติ การดัดแปลงพันธุกรรมของถั่วเหลืองให้มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูงซึ่งให้ประโยชน์ต่อมนุษย์สูง เป็นต้น ดังนั้นการใช้คำว่า “ปนเปื้อน” ในกรณีนี้จึงไม่ถูกต้อง เพราะ ”ปนเปื้อน” มีความหมายในลักษณะที่ไม่ต้องการให้มี เช่นไม่ต้องการให้อาหารมีการปนเปิ้อนของสารปรอทหรือสารหนูปนเปื้อนในอาหารเป็นต้น ดังนั้น จีเอ็มโอไม่ใช่สารปนเปื้อนแน่นอน

ตัวอย่างพืชดัดแปลงพันธุกรรม

วอลนัท

หลังจากที่ทำการตัดต่อทางพันธุกรรมแล้ว จึงทำให้เม็ดวอลนัทนั้นมีคุณสมบัติที่ดีขึ้นคือ
  1. ทนทานต่อโรค

สตรอเบอรี่

การตัดต่อทางพันธุกรรม (GMO) ส่งผลให้สตรอเบอรี่
  1. เน่าช้าลง ทำให้สะดวกต่อการขนส่ง
  2. เพิ่มสารอาหาร

แอปเปิล

ผลของการตัดต่อทางพันธุกรรมที่มีต่อแอปเปิลคือ
  1. ทำให้ความสดและความกรอบของผลแอปเปิลมีระยะเวลานานขึ้น (delay ripening)
  2. ทนต่อแมลงต่างๆ ที่เป็นศัตรูพืช

มะเขือเทศ

ลักษณะที่ดีขึ้นของมะเขือเทศ หลังจากที่ทำการตัดต่อทางพันธุกรรมแล้วมีดังนี้
  1. ทนทานต่อโรคมากขึ้น
  2. เพิ่มความแข็งของเนื้อมะเขือเทศมากขึ้น ทำให้ลดปัญหาผลผลิตเสียหายขณะขนส่ง
  3. ผลผลิตที่ได้จากการเก็บเกี่ยวจะเกิดการเน่าเสียช้าลง

ข้าวโพด

ข้าวโพดนับว่าเป็นพืชทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่เรานำมาทำการตัดต่อทางพันธุกรรม โดยการตัดต่อยีนของแบคทีเรียที่ชื่อว่า Bacillus thuringiensis เข้าไปในยีนของเมล็ดข้าวโพด จึงทำให้ข้าวโพดที่ได้ทำการตัดต่อทางพันธุกรรมนี้มีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถสร้างสารพิษต่อแมลงที่เป็นศัตรูพืชได้ โดยเมื่อแมลงมากัดกินข้าวโพดนี้แมลงก็จะตาย [[

มันฝรั่ง

มันฝรั่ง (Potato) เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีการตัดต่อทางพันธุกรรมเช่นเดียวกันกับข้าวโพด โดยใช้การตัดต่อยีนของแบคทีเรียที่ชื่อว่า Bacillus thuringiensi ==]] s เข้าไปในยีนของมันฝรั่ง ทำให้มันฝรั่งที่ได้รับการตัดต่อทางพันธุกรรมแล้วมีคุณค่าทางสารอาหารเพิ่มขึ้น (เพิ่มปริมาณโปรตีน) และในบางชนิดยังสามารถผลิตวัคซีนที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์อีกด้วย

ถั่วเหลือง

มีการดัดแปลงพันธุกรรมถั่วเหลืองเพื่อให้มีคุณสมบัติพิเศษ สามารถทนต่อสารเคมีกำจัดวัชพืชชนิด Roundup ได้ดีกว่าถั่วเหลืองทั่วไป ทำให้ผู้ปลูกสามารถใช้สาเครมีชนิด Roundup ได้มากขึ้น มีผลทำให้ได้ผลผลิตมากขึ้นตามไปด้วย

ฝ้าย

เป็นฝ้ายที่ผ่านการดัดแปลงทางพันธุกรรมโดยใส่ยีนของแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis var. kurataki (B.t.k) เข้าไปในโครโมโซมของต้นฝ้าย ทำให้สามารถผลิตโปรตีน Cry 1A ซึ่งมีคุณสมบัติในการฆ่าหนอนที่เป็นศัตรูฝ้ายได้

มะละกอ

มีการตัดต่อพันธุกรรมมะละกอ เพื่อให้สามารถต้านทานโรคห่าได้ และมีเมล็ดมากขึ้น



                        c   e   
 ตอบ 2.  X  X
อธิบาย คนที่ตาบอดสีจะมองเห็นสีผิดไปจากคนปกติ  เช่น คนที่ตาบอดสีแดงและสีเขียว  จะมีปัญหาในการแยกสีทั้งสอง

 ลักษณะตาบอดสี  เป็นลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนด้อย  กำหนดให้ c แทนแอลลีลที่ควบคุมลักษณะตาบอดสี และ C แทนแอลลีลที่ควบคุมลักษณะตาปกติยีนคู่นี้อยู่บนโครโมโซม X ดังนั้นสัญลักษณ์แทนยีนจึงเขียนเป็น  Xc และ  XC  สำหรับจีโนไทป์และฟีโนไทป์ของลักษณะตาบอดสี


ตอบ 1. มี ได้ มี
อธิบาย    หลายท่านอาจยังไม่คุ้นหูกับคำว่า "ไบรโอไฟต์" แต่หากบอกว่า "มอสส์" บางท่านอาจจะพอนึกภาพออก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว มอสส์จัดเป็นสมาชิกกลุ่มหนึ่งของไบรโอไฟต์เท่านั้น ดังนั้นเราลองมาทำความรู้จักกับไบรโอไฟต์กันให้มากยิ่งขึ้นกันดีกว่า    


 ไบรโอไฟต์มักขึ้นในที่ร่มและชุ่มชื้น เช่น ก้อนหิน เปลือกไม้ พื้นดิน เป็นต้น แต่บางครั้งเราอาจพบไบรโอไฟต์ขึ้นอยู่บนวัตถุที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติ เช่น ท่อน้ำพีวีซี พื้นซีเมนต์ ตุ๊กตาดินเผา เป็นต้น ไบรโอไฟต์เป็นพืชบกสีเขียวที่มีขนาดเล็ก ไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง ไม่มีดอก และไม่มีรากที่แท้จริง มีไรซอยด์ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ช่วยในการยึดเกาะ การลำเลียงน้ำและแร่ธาตุสามารถเข้าสู่ภายในของต้นโดยผ่านเซลล์ได้ทุกเซลล์ ด้วยคุณสมบัติข้อนี้ จึงได้นิยมนำไบรโอไฟต์มาใช้เป็นดัชนีชี้วัดทางชีวภาพ (bioindicator) โดยเฉพาะเพื่อใช้ในการศึกษาผลกระทบทางด้านมลพิษในอากาศ เพราะไบรโอไฟต์สามารถดูดซับน้ำและแร่ธาตุจากสิ่งแวดล้อมได้โดยตรง         
          ไบรโอไฟต์แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ มอสส์ ลิเวอร์เวิร์ต และฮอร์นเวิร์ต ไบรโอไฟต์ มีความสำคัญต่อระบบนิเวศของป่าในด้านต่างๆ เช่น เป็นแหล่งอาหารและแหล่งที่อยู่ของสัตว์ขนาดเล็ก เช่น แมลงต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นพืชบุกเบิกในธรรมชาติ ซึ่งช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้กับผืนป่าที่รกร้างและแห้งแล้ง ให้กลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง ที่สำคัญเซลล์ของไบรโอไฟต์ มีคุณสมบัติพิเศษในการดูดซับน้ำได้โดยตรงอย่างรวดเร็ว สามารถดูดซับได้ถึง 200-500% ของน้ำหนักแห้ง พืชกลุ่มนี้จึงเปรียบเหมือนฟองน้ำของป่าที่ช่วยดูดซับน้ำให้กับผืนป่า ไบรโอไฟต์จึงนับว่าเป็นพืชตัวน้อยที่นับเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศป่าเป็นอย่างมากกลุ่มหนึ่ง       
           ปัจจุบันมีการนำไบรโอไฟต์มาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น เช่น นำมาจัดตู้ปลา จัดสวน หรือแม้แต่นำมาเป็นวัสดุช่วยปลูกกล้วยไม้ นอกจากนี้ยังมีการค้นคว้าวิจัยในการสกัดสารเคมีจากไบรโอไฟต์บางชนิด เพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นยารักษาโรคได้ เช่น มอสส์สกุลข้าวตอกฤาษี (Sphagnum) สามารถรักษาอาการตกเลือดอย่างเฉียบพลัน และโรคที่เกี่ยวกับตา (Pant, 1998) สำหรับประเทศไทยการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ซึ่งบางประเทศที่มีการปลูกไบรโอไฟต์เป็นสินค้าส่งออกสามารถสร้างรายได้เข้า ประเทศอย่างมากมาย อย่างไรก็ตามเราทุกคนควรมีจิตสำนึกในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ อย่างรู้คุณค่า เพื่อให้ทรัพยากรเหล่านั้นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างดีตลอดไปด้วย




ตอบ 1. H5 N1
อธิบาย
ไวรัส ไข้หวัดนกที่ระบาดในประเทศไทยเมื่อต้นปี 2004 มีชื่อเรียกว่า A/Chicken/Nakorn-Pathom/Thailand/CU-K2/04 (H5N1) ซึ่งเป็นไวรัสที่มีลักษณะก่อให้เกิดโรครุนแรง จัดเป็นชนิด highly pathogenic AI (HPAI) ซึ่งเชื้อที่แยกได้จากไก่จะมีลักษณะใกล้เคียงกับไวรัสไข้หวัดนกที่แยกเชื้อ ได้จากเป็ดในการระบาดที่ประเทศจีนเมื่อปี 2003 มากที่สุด A/Duck/China/E319.2/03 (H5N1) จากการศึกษารหัสพันธุกรรมของไวรัส พบว่ามี 20-codon deletion ในยีน neuraminidase และ 5-codon deletion ในยีน NS รวมทั้งพบ polymorphisms ของยีน M2 และยีน PB2 อีกด้วย
ไข้หวัดนกเป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคในสัตว์ปีก แตกต่างที่ส่วนประกอบที่ผิวของไวรัส คือ ฮีแมกกลูตินินและนิวรามินิเดสเป็นคนละชนิดที่ทำให้เกิดโรคในคน เชื้อที่ทำให้เกิดโรคในคน ฮีแมกกลูตินินจะเป็น H1 หรือ H2 หรือ H3 แต่ของนกมีตั้งแต่ H1 ถึง H15 ส่วนนิวรามินิเดสของคนมีแต่ชนิด N1 และ N2 ส่วนของนกมีตั้งแต่ N1-N9 เชื้อไข้หวัดใหญ่ของคนที่มีอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน คือ Influenza A ชนิด H1N1, H1N2, H3N2 และ Influenza B ส่วนเชื้อที่มาจากนกและสร้างปัญหาให้แก่ประเทศไทยคือ Influenza A H5N1
สำหรับหลักเกณฑ์ในการเรียกชื่อเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากมีเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ตัวใหม่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา องค์การอนามัยโลกจึงได้กำหนด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น