วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรม 15 - 19 พฤศจิกายน 2553


ตอบ : 4

อธิบาย : พืชและสัตว์จำเป็นต้องได้รับพลังงานเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต  โดยพืชจะได้รับพลังงานจากแสง
ของดวงอาทิตย์  โดยใช้รงควัตถุสีเขียวที่เรียกว่า  คลอโรฟิลล์  (chlorophyll)  เป็นตัวดูดกลืนพลังงาน
แสงเพื่อนำมาใช้ ในการสร้างอาหาร  เช่น  กลูโคส  แป้ง  ไขมัน  โปรตีน  เป็นต้น

        พืชจึงเป็นผู้ผลิต (producer)  และเป็นสิ่งมีชีวิตอันดับแรกในการถ่ายทอดพลังงาน
แบบห่วงโซ่อาหาร สำหรับสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิต ที่ไม่สามารถสร้าง อาหารเองได้  จำเป็นต้องได้รับพลังงาน
จากการบริโภค สิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร สัตว์จึงถือว่าเป็น ผู้บริโภค (consumer)  ซึ่งแบ่งออกได้เป็นต้น

  • ผู้บริโภคลำดับที่หนึ่ง (primary  consumer)  หมายถึง  สัตว์ที่กินผู้ผลิต
  • ผู้บริโภคลำดับที่สอง  (secondary  consumer )  หมายถึง  สัตว์ที่กินผู้บริโภคลำดับที่หนึ่ง
  • ผู้บริโภคลำดับสูงสุด  (top  consumer)  หมายถึง  สัตว์ที่อยู่ปรายสุดของห่วงโซ่อาหาร
    ซึ่งไม่มีสิ่งมีชีวิตใด มากินต่อ  อาจเรียกว่า  ผู้บริโภคลำดับสุดท้าย

ที่มา ; http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science03/26/2/ecology/content/food_chain.html


 


ตอบ :3

อธิบาย :

ที่มา : http://www.school.net.th/library/create-web/10000/science/10000-6508.html






ตอบ : 2

อธิบาย : การลดลงของชั้นโอโซนในบรรยากาศจะส่งผลให้รังสีอัตราไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์ ส่งผ่านมายังโลกได้มากขึ้น รังสีอัตราไวโอเล็ตชนิด UV- C มีพลังงานมากที่สุดและเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมบนโลก เช่น ทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง มะเร็งเรตินาเกิดต้อกระจก ระบบภูมิคุ้มกันและสารพันธุกรรมถูกทำลาย พืชเจริญเติบโตช้าลง วัสดุต่างๆ ที่ทำจากสารสังเคราะห์จะแตกหักเสียหายง่าย สีซีดจางลง
นักวิทยาสาสตร์พบว่าสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs) เป็นสาเหตุสำคัญของการทำลายโอโซนจึงมีความร่วมมือในระดับนานาชาติ เพื่อสร้างมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาการทำลายโอโซน โดยลดการใช้ CFCs ในบรรจุภัณฑ์แบบฉีดพ่น และเลิกใช้ CFCs เป็นสารทำความเย็นในผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ

ที่มา : http://km.vcharkarn.com/other/mo6/38-2010-06-22-08-36-59


 

ตอบ : 4

อธิบาย : ไวรัสทั่วไปตามธรรมชาติจำเป็นต้องเข้าไปเจริญและทวีแพร่พันธุ์ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเท่านั้น โดยยีนของไวรัสและ ยีนของเซลล์ที่เพาะเลี้ยงไวรัสต้องมีกลไกสอดคล้องต้องกัน ไวรัสจะสามารถเจริญแพร่พันธุ์ไวรัสใหม่ได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์และชนิดของไวรัส ดังนั้น แต่ละชนิดของไวรัสจึงทำให้เกิดโรคเฉพาะมนุษย์ สัตว์ แมลง พืช สาหร่ายสีน้ำเงิน รา หรือบัคเตรีต่าง ๆ กัน
ไวรัส ไข้หวัดใหญ่ เมื่อฉีดเพาะเลี้ยงลงในถุงน้ำคร่ำลูกไก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่จะทวีจำนวนได้มากมาย แต่ถ้าฉีดเลี้ยงบนเยื่อคอริโออลันตอยส์ของลูกไก่ จะไม่เกิดการสังเคราะห์ไวรัสไข้หวัดใหญ่เลย แสดงว่าสภาพแตกต่างกันโดยรูปร่าง และหน้าที่ (differentiation) * ของเซลล์ถุงน้ำคร่ำกับเซลล์เยื่อคอริโออลันตอยส์ อำนวยให้มีความสามารถในการสังเคราะห์ไวรัสได้ต่างกัน

ขั้นตอนการเพิ่มจำนวนไวรัส
ไวรัส หูดของโชพ เมื่อฉีดเข้าผิวหนังกระต่ายบ้าน จะเกิดเป็นหูดที่ผิวหนัง ภายในเซลล์ที่เป็นหูดจะมีการสร้างสารของไวรัสหูดของโชพ แต่จะไม่สร้างไวรัสหูดที่สมบูรณ์เลย แต่ถ้าทดลองกับกระต่ายป่าหางปุยฝ้าย จะว่าสร้างไวรัสที่หูดที่สมบูรณ์ได้มากมายในการทวีแพร่พันธุ์ของไวรัสนั้น ไวรัสจะสังเคราะห์ไวรัสที่สมบูรณ์ได้โดย
1. เข้าไปอยู่ภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เพราะไวรัสไม่มีเอนไซม์ ต้องอาศัยเอนไซม์ของเซลล์
2. สังเคราะห์สร้างกรดนิวคลีอิคเพิ่มขึ้น
3. สังเคราะห์โปรตีนที่ห่อหุ้มกรดนิวคลีอิคของไวรัส
4. สังเคราะห์อินทรียสาร ที่กำหนดโดยแต่ละยีนของไวรัสเฉพาะ

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA


 


ตอบ : 1



เซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีขนาดเล็กมาก ภายในมีโครงสร้างมากมายดังนี้
 1. ผนังเซลล์ (Cell Wall ) เซลล์ทั่วไปประกอบด้วยสารพวกเซลลูโลสเป็นหลัก ทำหน้าที่ห่อหุ้มป้องกัน
อันตรายให้แก่เซลล์พืช ให้เซลล์คงรูปเพิ่มความแข็งแรง เซลล์ของสัตว์ไม่มีผนังเซลล์ แต่เซลล์สัตว์บางชนิดอาจมีสาร
เคลือบเยื่อหุ้มเซลล์ได้ มีลักษณะแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของเซลล์นั้น ๆ เช่น เปลือกกุ้ง กระดองปู มีสารเคลือบพวก
ไกลโคโปรตีน
(Glycoprotein)  เซลล์พวกไดอะตอม มีสารเคลือบเป็นพวก ซิลิกา สารเคลือบเหล่านี้มีประโยชน์ทำให้
เซลล์คงรูปร่างได้


                2. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) เป็นเยื่อบาง ๆ ประกอบด้วยโปรตีน และไขมัน ทำหน้าที่ควบคุม
ปริมาณ และชนิดของสารที่ผ่านเข้าออกจากเซลล์ และมีรูเล็ก ๆ เพื่อให้สารบางอย่างผ่านเข้าออกได้ และไม่ให้สารบาง
อย่างผ่านเข้าออกจากเซลล์ จึงมีสมบัติเป็นเยื่อบางๆ
(Semipermeable Membrane)



                3. ไซโทพลาซึม (Cytoplasm) เป็นส่วนประกอบที่เป็นของเหลวอยู่ภายในเซลล์ มีสารที่ละลายน้ำได้
เช่น โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ ฯลฯ ประกอบด้วยหน่วยเล็ก ๆ ที่สำคัญหลายชนิด ดังนี้


3.1 ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) เป็นโครงสร้างที่มีลักษณะยาวรีเป็นแหล่งผลิตสาร
ที่มีพลังงานสูงให้แก่เซลล์
               
3.2 คลอโรพลาส (Chloroplast) เป็นโครงสร้างพบเฉพาะในเซลล์พืช มองเห็นเป็นสีเขียว
เพราะมีสารพวกคลอโรฟิลล์ ซึ่งไม่ดูดกลืนแสงสีเขียว คลอโรฟิลล์เป็นสาระสำคัญที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์
ด้วยแสง


3.3 ไรโบโซม (Ribosome) เป็นโครงสร้างที่มีขนาดเล็ก เป็นแหล่งที่มีการสังเคราะห์
โปรตีนเพื่อส่งออกไปใช้นอกเซลล์
               
3.4 กอลจิคอมเพลกซ์ (Golgi Complex) เป็นโครงสร้างที่เป็นถุงแบน ๆ คล้ายจานซ้อน
กันเป็นชั้น ๆ หลายชั้น ทำหน้าที่สร้างสารคาร์โบไฮเดรตที่รวมกับโปรตีน แล้วส่งออกไปใช้ภายในเซลล์


3.5 เซนตริโอล (Centriole) พบเฉพาะในเซลล์สัตว์ และโพรติสต์บางชนิด มีหน้าที่เกี่ยวกับ
การแบ่งเซลล์


3.6 แวคิวโอล (Vacuole) เป็นโครงสร้างที่มีช่องว่างชนาดใหญ่มากในเซลล์พืช ภายในมีสาร
พวกน้ำมัน ยาง และแก๊สต่าง ๆ


4. นิวเคลียส (Nucleus) อยู่ตรงการเซลล์ เซลล์ส่วนใหญ่มีนิวเคลียส ยกเว้นเซลล์บางชนิด เช่น เซลล์เม็ด
เลือดแดงของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และเซลล์ลำเลียงอาหารของพืช เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะไม่มีนิวเคลียส
                นิวเคลียสทำหน้าที่ ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ควบคุมการสังเคราะห์สารประกอบของเซลล์ ส่วนประกอบ
ของนิวเคลียสมีดังนี้

               
4.1 นิวคลีโอพลาซึม (Nucleoplasm) เป็นของเหลวภายในนิวเคลียส เป็นส่วนที่ใส ไม่มีสี
ประกอบด้วยเม็ดสารเล็ก ๆ ที่มีรูปร่างไม่แน่นอน
               
4.2 ร่างแหนิวเคลียส มีโครงสร้างเป็นเส้นที่สานกันเป็นร่างแห เมื่อเซลล์มีการแบ่งตัว ร่างแหนิวเคลียส
จะเปลี่ยนเป็นร่างแหโครโมโซม ซึ่งประกอบด้วย
DNA หรือยีน (gene) ซึ่งมีสารพันธุกรรมประกอบอยู่ และเป็นตัวควบคุม
การแสดงออกถึงลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต
               
4.3 นิวคลีโอลัส (Nucleolus) เป็นตำแหน่งที่ติดสีเคมีบนไครโมโซม ประกอบด้วยสารประเภท DNA
TNA ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับกลไกการสร้างโปรตีน





ตอบ : 1

อธิบาย : Hypotonic solution (ไฮโปโทนิก โซลูชั่น) เป็นสารละลายความเข้มข้นต่ำ (น้ำมาก)
เมื่อนำเซลล์ไปแช่ในสารละลายนั้น ซึ่งภายในเซลล์มีความเข้มข้นสูงกว่า (น้ำน้อย)
และเมื่อนำหลักการของออสโมซิสจากที่กล่าวข้างบน ก็คือน้ำจะออสโมซิสจาก
สารละลายภายนอกเซลล์ก็คือ ไฮโปโทนิก นั่นละ ไปยัง ภายในเซลล์ เพราะว่า
มันแพร่จากน้ำมาก ไปยัง น้ำน้อย พอน้ำเข้าเซลล์ก็ทำให้เซลล์เต่งขึ้น
และในเซลล์สัตว์เนื่องจากมันไม่มี cell wall (ผนังเซลล์) หากน้ำออสโมซิสเข้าไปมาก
ก็อาจทำให้เกิดเซลล์แตก ส่วนในเซลล์พืชจะไม่มีทางเกิดเซลล์แตกเพราะว่ามันมี cell wall
((วิธีจำ : ไฮโป >> โต ก็คือ สารละลายไฮโปโทนิกทำให้เซลล์ที่แช่โตหรือเต่ง ))

Hypertonic solution (ไฮเปอร์โทนิก โซลูชั่น) จำว่ามันตรงข้ามกับ Hypotonic solution
เป็นสารละลายความเข้มข้นสูง (น้ำน้อย)
เมื่อนำเซลล์ไปแช่ในสารละลายนั้น ซึ่งภายในเซลล์มีความเข้มข้นต่ำกว่า (น้ำมาก)
และเมื่อนำหลักการของออสโมซิสจากที่กล่าวข้างบน ก็คือน้ำจะออสโมซิสจาก
สารละลายภายในเซลล์ไปยังสารละลายภายนอกเซลล์(ไฮเปอร์โทนิก) เพราะว่า
มันแพร่จากน้ำมาก ไปยัง น้ำน้อย พอน้ำออกจากเซลล์ก็ทำให้เซลล์เหี่ยว
((และเนื่องจาก มันตรงข้ามกับโฮโปโทนิก จากที่เราจำกันมาว่า โฮโป >> โต ดังนั้น ไฮเปอร์โทนิก ก็ทำให้เซลล์เหี่ยว))


Isotonic solution (ไอโซโทนิก โซลูชั่น) ก็มีความเข้มข้น เท่ากับ สารละลายภายในเซลล์ทำให้เซลล์ยังคงปกติ
ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง ก็คือยังคงมีน้ำเข้าและออกจากเซลล์ แต่เข้าและออกในปริมาณเท่ากัน
เช่นน้ำเกลือที่ให้คนไข้อ่ะ ก็เป็นไอโซโทนิกเพราะว่า ต้องทำให้มันมีความเข้มข้นเท่ากับ
เซลล์เม็ดเลือดแดง คือ 0.85%
                                            ที่มา : http://www.vcharkarn.com/vcafe/42157




ตอบ 1


อธิบาย : การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะหมายถึงการที่มีโปรตีนมากกว่าปกติในปัสสาวะอาจเป็น เครื่องบ่งชี้ที่สำคัญอย่างหนึ่งของโรคที่มีพยาธิสภาพภายในไต ไตอักเสบเรื้อรังและเฉียบพลัน กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ท่อปัสสาวะอักเสบ การสัมผัสสารโลหะหนักบางชนิด เช่น ปรอท แคดเมียม มีฤทธิ์ในการทำลายเนื้อไต มีผลทำให้โปรตีนออกมาในปัสสาวะจำนวนมาก โรคเบาหวานที่เริ่มมีโรคแทรกซ้อน การตั้งครรภ์ระยะท้ายๆ มีไข้
  • การ ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะเป็นช่วงๆ ชั่วครั้ง ชั่วคราวนั้น มักจะเกิดจากภาวะการทำงานของร่างกายมากกว่าที่จะเป็นโรคไต เช่น มีการออกกำลังกายหักโหมเกินไป ยืนเดินนานๆ อยู่ในภาวะเครียดวิตกกังวล การเก็บปัสสาวะในขณะที่มีการแข็งตัวของอวัยวะเพศในเพศชาย การเก็บปัสสาวะในขณะที่มีรอบเดือน เป็นต้น
  • การรายงานผลจะรายงานเป็น Trace , 1+ , 2+ , 3+ และ 4+ หมายถึง พบโปรตีนในปริมาณน้อยๆ ไปจนถึงปริมาณมากตามลำดับ
ตอบ : 4

อธิบาย : สัตว์ที่อาศัยในทะเล เช่น ปลาทะเล มีความเข้มข้นของเกลือแร่ในเลือดต่ำกว่าท้องทะเล
คือ มีแรงดันออสโมติกในร่างกายต่ำกว่าน้ำทะเล จึงมีการควบคุมระดับน้ำในร่างกายตรงกัน
ข้ามกับปลาน้ำจืด เกลือแร่จึงแพร่ผ่านเข้าออกร่างกายตลอดเวลา จึงทำให้ปลาสูญเสียน้ำออก
จากร่างกาย ดังนั้นปลาในทะเล จึงมีการปรับตัวและกลไกต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหานี้ โดย
    1. มีผิวหนังและเกล็ดเป็นตัวป้องกันไม่ให้เกลือแร่เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย
    2. ดื่มน้ำทะเลมาก ๆ เพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำ เป็นวิธีการที่สำคัญที่สุด เมื่อดื่มน้ำทะเลมาก ๆ ทั้งน้ำและเกลือแร่จะเข้าสู่ร่างกาย จึงมีการขจัดเกลือแร่ออกจากร่างกาย โดย
      1. ขับถ่ายเกลือแร่ออกทางเหงือก บริเวณเหงือกจะมีอวัยวะพิเศษที่คอยขับเกลือแร่ที่
      เกินความจำเป็นออกจากร่างกาย ซึ่งเกลือแร่จะถูกขับออกโดยใช้พลังงาน เพราะ
      ว่า การขับสารจากความเข้มข้นต่ำไปสู่ด้านที่มีความเข้มข้นสูง
      2.2 เกลือแร่ที่เข้าไปในร่างกาย จะไม่มีการดูดซึม
    3. ไตจะขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นสูง
ที่มา : http://www.mintra2009.ob.tc/222111.htm


ตอบ : 3
อธิบาย :
เมื่อ ทารกที่สุขภาพแข็งแรงได้แนบสนิทเนื้อแนบเนื้อกับทรวงอกและหน้า ท้องของมารดาทันทีเมื่อแรกคลอด อกอุ่นของแม่จะช่วยกระตุ้นให้ทารก มีความตื่นตัว  สามารถคืบคลาน เมื่อได้รับการกระตุ้นจากสัมผัสอันอ่อนโยนของมารดา ได้อิงแอบแนบอุทร และเอื้อมมือไขว่คว้าเต้านมของเธอ13  ทารกเริ่มสัมผัสและนวดเฟ้นเต้านม  สัมผัสอันอ่อนโยนจากศีรษะและมือของทารกกระตุ้นการหลั่งสาร ออกซิโตซิน9 ในมารดา น้ำนมจึงเริ่มหลั่งไหลและความรักความผูกพันที่มีต่อลูกก็ยิ่งเพิ่มทวี  หลังจากสูดดม อ้าปากงับและเลียหัวนมของแม่แล้ว ทารกก็จะเกาะกุมเต้านมและเริ่มดูดดื่มน้ำนมเพื่อยังชีพ  กระบวนการนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของลูกมนุษย์
ถึงแม้ว่าได้มีนักประพันธ์หลายคนบรรยายพฤติกรรมปกติของทารกนี้เอาไว้7,13 เราพิ่งเริ่มค้นพบ ความสำคัญของการให้โอกาสเช่นนี้ต่อแม่และลูก  นับเป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์ได้ประเมินผลกระทบของเวลาในการให้นมแม่ ครั้งแรกกับอัตราการตายของทารก และพบว่าการตายอาจลดน้อยลง หากทารกได้เริ่มดูดนมแม่ในระหว่างชั่วโมงแรกของชีวิต (ดูในกล่องรายงานการวิจัย)
ความสำคัญของการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อหลังคลอดและการให้นมแม่ภายในชั่วโมงแรก
1       ไออุ่นจากกายของแม่ช่วยรักษาความอบอุ่นให้ทารก ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อทารกที่มีขนาดตัวเล็กและน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่าปกติ4
2       ทารกจะความผ่อนคลาย สงบ การหายใจและอัตราการเต้นหัวใจก็สม่ำเสมอขึ้น7
3       ทารก จะได้สัมผัสกับเชื้อแบคทีเรียจากแม่ที่ส่วนใหญ่เป็นประโยชน์และไม่มีอันตราย ทั้งในน้ำนมแม่ก็มีภูมิคุ้มกันอยู่ด้วย  เชื้อแบคทีเรียของแม่ที่แพร่ขยายพันธุ์ในทางเดินอาหารและผิวหนังทารกจะ ต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรียอันตรายที่มาจากบุคคลากรทางการแพทย์และสภาพแวดล้อม น้ำนมแม่จึงช่วยหยุดยั้งการติดเชื้อได้5
4       ทารกได้รับหัวน้ำนมสีเหลืองจากการดูดนมแม่ครั้งแรก น้ำนมสีทองคำนี้บางครั้งถูกเรียกว่าของขวัญแห่งชีวิต
·         หัวน้ำนมสีเหลืองนั้นอุดมด้วยภูมิคุ้มกัน แอนติบอดี และโปรตีนป้องกันโรคอื่นๆ   มันทำหน้าที่เป็นวัคซีนขนานแรกของทารก ช่วยป้องกันโรคติดเชื้อมากมาย และยังช่วยพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันของทารกที่กำลังพัฒนาขึ้นมาอีกด้วย
·         หัวน้ำนมสีเหลืองมีสารที่ช่วยการเจริญเติบโต (growth factor)  ซึ่งช่วยให้ลำไส้ใหญ่ของทารกแข็งแรงและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จุลชีพและเชื้อโรคอื่นๆ จึงเข้าสู่ร่างกายทารกได้ยากขึ้น
·         หัวนำนมสีเหลืองอุดมด้วยวิตามินเอ ซึ่งช่วยป้องกันดวงตาและลดการอักเสบ
·         ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ ทำให้ขี้เทาถูกกำจัดออกจากช่องท้องได้อย่างรวดเร็ว และสารในร่างกายทารกที่ทำให้เกิดอาการตัวเหลืองก็จะถูกขับถ่ายไปด้วย ดังนั้นโอกาสที่ทารกจะตัวเหลืองจะลดน้อยลง
·         มีปริมาณน้อย เหมาะสำหรับทารกแรกคลอด
5       การสัมผัส  และ ดูดเต้านมกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนออกซิโตซิน ซึ่งมีความสำคัญด้วยเหตุผลหลายประการ
·         ออกซิโตซิน ทำให้มดลูกหดตัว  ซึ่งอาจช่วยในการคลอดรก และลดการเสียเลือดหลังคลอด10
·         ออกซิโตซิน กระตุ้นฮอร์โมนต่างๆ  ทำให้แม่รู้สึกสงบ ผ่อนคลาย รักและผูกพันกับลูกของตน9
·         ออกซิโตซิน กระตุ้นการหลั่งน้ำนม
6       ผู้หญิง รู้สึกมีความสุขอย่างเหลือล้นเมื่อได้เห็นหน้าลูกเป็นครั้งแรก  และส่วนใหญ่พ่อจะรู้สึกร่วมในความสุขนั้นด้วย  สายใยความผูกพันระหว่างแม่และลูกได้เริ่มต้นขึ้น
โดย สรุปแล้ว สัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อ และการให้หัวนำนมสีเหลืองนั้นมีส่วนช่วยลดอัตราการตายในช่วงเดือนแรกของ ชีวิต  นอกจากนี้ การกระทำดังกล่าวมีผลในการยืดระยะเวลาการให้นมแม่เพียงอย่างเดียวและการให้ นมแม่ให้นานขึ้นในเดือนต่อๆ  ไป ยังทำให้ทารกมีสุขภาพแข็งแรงและอัตราการตายต่ำลงด้วย6,12

ตอบ : 2

อธิบาย :
วัคซีน (อังกฤษ: Vaccine) เป็นชีววัตถุที่เตรียมขึ้นจากเชื้อจุลินทรีย์หรือ ส่วนของเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งจะมีกลไกชักนำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่ จำเพาะต่อจุลินทรีย์ชนิดนั้นๆ กล่าวคือมีฤทธิ์ชักนำการสร้างภูมิคุ้มกันอันจำเพาะกับโรค วัคซีนโดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนประกอบของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรค (แอนติเจน) ซึ่งถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง, ตาย หรือการใช้ส่วนที่เป็นพิษที่อ่อนฤทธิ์ลง (toxoid) โดยวัคซีนจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของ ร่างกายและสามารถจดจำได้ว่าเป็นสารก่อโรคซึ่งจะมีกลไกการทำลายต่อไป คุณสมบัติการจดจำแอนติเจนของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ร่างกายสามารถ กำจัดแอนติเจนหากเมื่อได้รับอีกในภายหลังได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
วัคซีนเริ่มมีการพัฒนาในราวคริสตทศวรรษที่ 1770 โดยเอ็ดวาร์ด เจนเนอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ประสบความสำเร็จในการสกัดเชื้อ cowpox เพื่อป้องกันโรคฝีดาษ (small pox) ในมนุษย์ได้ วันซีนในระยะเริ่มแรกเป็นการนำเชื้อมาทำให้ตายหรือการใช้เชื้อที่อ่อนฤทธิ์ เท่านั้น จนกระทั่งปัจจุบันมีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีรีคอมบีแนนต์มาช่วยในการพัฒนาโดย อาศัยความรู้ทางชีววิทยาระดับโมเลกุล และมีความพยายามพัฒนาวัคซีนโดยการสังเคระห์แอนติเจนในการผลิตซับยูนิตวัคซีน (subunit vaccine) อีกด้วย
คำว่า "วัคซีน" (vaccine) ได้มาจากครั้งที่เอ็ดวาร์ดให้เชื้อ cowpox แก่มนุษย์ โดยคำว่า variolæ vaccinævaccīn-us หรือ vacca ซึ่งแปลว่า cow หรือวัวซึ่งมีความสัมพันธ์กับเชื้อ cowpox

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%99
มาจากคำว่า

ตอบ : 3

อธิบาย : การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส ( meiosis)
การ แบ่งเซลล์แบบไมโอซิส เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์ ซึ่งเกิดในวัยเจริญพันธุ์ ของสิ่งมีชีวิต โดยพบในอัณฑะ ( testes), รังไข่ ( ovary), และเป็นการแบ่ง เพื่อสร้างสปอร์ ( spore) ในพืช ซึ่งพบในอับละอองเรณู ( pollen sac) และอับสปอร์ ( sporangium) หรือโคน ( cone) หรือในออวุล ( ovule)
มีการลดจำนวนชุดโครโมโซมจาก 2n เป็น n ซึ่งเป็นกลไกหนึ่ง ที่ช่วยให้จำนวนชุดโครโมโซมคงที่ ในแต่ละสปีชีส์ ไม่ว่าจะเป็นโครโมโซม ในรุ่นพ่อ - แม่ หรือรุ่นลูก - หลานก็ตาม
ตอบ 4.

อธิบาย : 
กรดนิวคลีอิก ( Nucleic acid)แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆคือ
1. DNA ( deoxyribonucleic acid ) เป็นสารพันธุกรรมเป็นพอลิเมอร์ของดีออกซีไรโบนิวคลีโอไทด์ (deoxyribonucleotide ) ซึ่งต่อเชื่อมกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ แต่ละนิวคลีโอไทด์ (nucleotide)
ประกอบด้วยน้ำตาลดีออกซีไรโบส (2-deoxyribose) หมู่ฟอสเฟตและเบสไนโตรเจน ( nitrogenous base) DNA พบในนิวเคลียสและไมโตคอนเดรียของเซลล์
2. RNA (ribonucleic acid )เป็นพอลิเมอร์ของไรโบนิวคลีโอไทด์ (ribonucle0tide)แต่ละนิวคลีโอไทด์ประกอบด้วย น้ำตาลไรโบส ( ribose ) หมู่ฟอสเฟตและเบสไนโตรเจน RNA ทำหน้าที่ถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรมจาก DNA นำมาสร้างเป็นโปรตีนและเอนไซม์ RNA ส่วนใหญ่พบในไซโมพลาสซึมของเซลล์





ตอบ : 3

อธิบาย : อัตรา เสี่ยงหรือโอกาสของลูกที่จะเกิดมาเป็นโรคธาลัสซีเมีย หรือเป็นพาหะของโรค หรือเป็นปกติในแต่ละครอบครัวจะเท่ากันทุกครั้งของการตั้งครรภ์ บางครอบครัวที่พ่อและแม่มียีนธาลัสซีเมียแฝงอยู่ ทั้งคู่มีลูก 7 คนเป็นโรคเพียงคนเดียว แต่บางครอบครัวมีลูก 3 คน เป็นโรคทั้ง 3 คน ขึ้นอยู่ว่าลูกที่เกิดมาในแต่ละครรภ์จะรับยีนธาลัสซีเมียไปจากพ่อและแม่หรือ ไม่ ทั้งๆ ที่อัตราเสี่ยงทั้ง 2 ครอบครัวนี้เท่ากันและทุกครรภ์ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคธาลัสซีเมีย เท่ากับ 1 ใน 4



ตอบ : 1

อธิบาย : การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ควบคุมโดยยีนด้อยบนออโทโซม การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ผิดปกติถูกควบคุมโดยยีนด้อย เมื่อดูจากภายนอกทั้งพ่อและแม่มีลักษณะปกติ แต่มียีนด้อยแฝงอยู่ เรียกว่าเป็นพาหะ (carrier) ของลักษณะที่ผิดปกติ
# โรคที่เกิดจากยีนด้อยบนออโทโซม เช่น
 โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคเลือดจางจากกรรมพันธุ์ที่มีความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง คือ มีการสังเคราะห์เฮโมโกลบินผิดไปจากปกติ อาจมีการสังเคราะห์น้อยกว่าปกติ จึงทำให้เม็ดเลือดแดงมีลักษณะผิดปกติ แตกง่าย อายุของเม็ดเลือดแดงสั้นลง


ตอบ : 1

อธิบาย : กล่าวโดยสรุปเป็นเพราะพันธุกรรมตาบอดสีจึงพบในเพศหญิงน้อยกว่าเพศชายประมาน 16 เท่า ประมาณ 0.4 % ประชากร ขณะที่ตาบอดสีทั้งหมดจะพบ 10 % ของประชากรและเป็นการมองเห็นสีเขียวบกพร่องเสียประมาณ 5 % ของประชากรตาบอดสีอีกกลุ่มหนึ่งคือตาบอดสีที่เป็นภายหลัง มักเกิดจากโรคจอประสาทหรือโรคของเส้นตาอักเสบ มักจะเสียสีแดงมากกว่าสีอื่นและอาจเสียเพียงเล็กน้อยคือดูสีที่ควรจะเป็น นั้นดูมืดกว่าปกติหรืออาจจะแยกสีนั้นไม่ได้เลยก็ได้ การที่พบโรคนี้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และมักเป็นกับแบบแดง-เขียวแทบทั้งหมด เนื่องจากว่ายีนที่ควบคุมการสร้างรงควัตถุรับสีชนิดสีแดงและสีเขียวนั้นอยู่ บนโครโมโซม X เมื่อยีนนี้ขาดตกบกพร่องไปในคนใดคนหนึ่งก็จะทำให้คนนั้นสามารถรับรู้สีเหล่า นั้นได้ลดลงกว่าคนปกติ แน่นอนว่าผู้หญิงมีโอกาสเป็นน้อยกว่าเนื่องจากในผู้หญิงมีโครโมโซม X ถึงสองตัว ถ้าเพียงแต่ X ตัวใดตัวหนึ่งมียีนเหล่านี้อยู่ก็สามารถรับรู้สีได้แล้ว ในขณะที่ผู้ชายมีโครโมโซม X เพียงตัวเดียว อีกตัวเป็น Y ซึ่งไม่ได้มีมียีนนี้ด้วยก็จะแสดงอาการได้เมื่อ X ตัวเดียวเท่าที่มีอยู่นั้นบกพร่องไป



ตอบ : 3

อธิบาย : หมู่เลือด A + A= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ O
หมู่เลือด B + B
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B หรือ O
หมู่เลือด AB + AB
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ AB หรือ B
(ยกเว้น O)
หมู่เลือด O + O
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด O เท่านั้น
หมู่เลือด A + B
= มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือดใดก็ได้ ได้ทุกหมู่
หมู่เลือด A + AB
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ AB หรือ B
(ยกเว้น O)
หมู่เลือด B + AB
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ AB หรือ B
(ยกเว้น O)
หมู่เลือด AB + O
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ B
หมู่เลือด A + O
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ O
หมู่เลือด B + O
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B หรือ O

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น